สถิติ
เปิดเมื่อ6/02/2012
อัพเดท31/03/2012
ผู้เข้าชม39470
แสดงหน้า47281
บทความ
บทความทั่วไป/General articles
ความรู้เกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานหญิง ขณะตั้งครรภ์
อาหารสำหรับคนท้อง
สัญญาณ 10 ประการของตั้งครรภ์
พัฒนาการทารกในครรภ์/Development of the fetus
พัฒนาการของทารกในครรภ์ ระยะ 31-40 สัปดาห์
พัฒนาการของทารกในครรภ์ ระยะ 23-30 สัปดาห์
พัฒนาการของทารกในครรภ์ ระยะ 15-22 สัปดาห์
พัฒนาการของทารกในครรภ์ ระยะ 8-14 สัปดาห์
พัฒนาการของทารกในครรภ์ช่วง 1-7 สัปดาห์
โรคในหญิงตั้งครรภ์/Disease in pregnant women
การดูแลสุขภาพช่องปากในหญิงตั้งครรภ์
11 โรคอันตรายสำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์
การออกกำลังกายในหญิงตั้งครรภ์/The exercise in pregnant women
โยคะสำหรับหญิงตั้งครรภ์
การออกกำลังกาย ขณะตั้งครรภ์
แทนความรู้สึกจากใจของแม่/The feeling of my mother
ครั้งที่สองที่เราพบกัน
ครั้งแรกที่เราพบกัน(การฝากครรภ์ครั้งแรกในชีวิต)
วันแรกที่รู้ว่าตั้งครรภ์!!
ปฎิทิน
April 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
    




การดูแลสุขภาพช่องปากในหญิงตั้งครรภ์

อ่าน 574 | ตอบ 1
      การมีสุขภาพที่ดีในระหว่างตั้งครรภ์เป็นสิ่งที่คุณแม่ทุกคนต้องการ  คุณแม่อาจมีความกังวล
 
ถึงความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของร่างกาย และเฝ้าดูแลสุขภาพครรภ์และลูกในครรภ์อย่างดี อย่างไรก็ตาม ต้องไม่ลืมนึกถึงสุขภาพช่องปากของคุณแม่ด้วย เพราะก็มีผลต่อสุขภาพของลูกในครรภ์

1.การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ระหว่างตั้งครรภ์มีผลต่อการเกิดเหงือกอักเสบได้ง่ายกว่าปกติ การมีหินปูนจำนวนมากทำให้เป็นโรคปริทันต์รุนแรง เหงือกบวม อักเสบ มีเลือดออกได้

2.มีรายงานว่าแบคทีเรียที่ทำให้เกิดภาวะเหงือกอักเสบ สามารถเข้าสู่กระแสเลือด มีผลกระตุ้นให้มีฮอร์โมน Prostaglandin E2 เพิ่มขึ้น ซึ่งฮอร์โมนนี้จะมีเมื่อจะเกิดการคลอด จึงพบว่าในมารดาที่มีภาวะเหงือกอักเสบรุนแรงมักจะคลอดลูกน้ำหนักตัวน้อยและ คลอดก่อนกำหนด

3.อาการคลื่นไส้อาเจียนจากการแพ้ท้องบ่อยๆ ทำให้มีกรดจากกระเพาะอาหารย้อนกลับมาในช่องปาก ถ้าไม่ล้างกรดออกจากช่องปากโดยเร็ว อาจทำให้สึกกร่อนได้

4.การทานอาหารเปรี้ยวบ่อยๆ ก็มีผลทำให้ฟันสึกกร่อนได้เช่นกัน

5.คุณแม่ตั้งครรภ์มักจะทานได้ครั้งละน้อย แต่บ่อยครั้ง การทานบ่อยๆ และทานอาหารหวาน อาหารเหนียวติดฟันจะทำให้เกิดฟันผุได้

6. โรคฟันผุเกิดจากเชื้อแบคทีเรียในช่องปากเปลี่ยนน้ำตาลเป็นกรด กัดผิวฟัน การมีฟันผุที่ยังไม่ได้รักษาแสดงถึงการมีเชื้อแบคทีเรียในช่องปากเป็นจำนวน มาก เชื้อแบคทีเรียเหล่านี้ไม่ส่งผ่านสู่ลูกทางพันธุกรรม แต่ส่งผลได้ทางน้ำลาย เช่น การกอดจูบลูก การเป่าอาหารให้ลูก การกัดแบ่งอาหารให้ลูก และการใช้ช้อนร่วมกันกับลูก

7.สำหรับลูก ฟันน้ำนมจะมีการสร้างตัวตั้งแต่อายุครรภ์มารดาได้ 4-6 สัปดาห์ การสร้างฟันต้องการสารอาหารหลายชนิดเช่นเดียวกับการเจริญเติบโตของร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งแร่ธาตุจำพวกแคลเซียม ฟอสฟอรัส ซึ่งจะมีผลให้เคลือบฟันและเนื้อฟันมีความแข็งแรง

คำแนะนำสำหรับคุณแม่
1. แปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันทุกวัน อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง พยายามให้สะอาดทั่วทั้งในซอกฟันและบริเวณขอบเหงือก และควรบ้วนปากหรือแปรงฟันทุกครั้งหลังทางอาหารว่าง

2.หากมีอาการแพ้ ท้อง อาเจียน ควรบ้วนปากด้วยน้ำเปล่าหรือน้ำยาบ้วนปากผสมฟลูออไรด์ เพื่อลดปริมาณกรดจากกระเพาะอาหารที่ย้อนขึ้นมาในช่องปาก..แต่ห้ามแปรงฟัน เป็นเวลา 30 นาที เพราะกรดที่ออกมา จะสัมผัสผิวฟันให้อ่อนยุ่ย หากแปรงฟันทันทีจะเป็นการถูเอาผิวฟันที่อ่อนยุ่ยอยู่ให้สึกออกไปได้

3. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อสุขภาพของแม่และลูกในครรภ์ แคลเซียมเป็นสารอาหารสำคัญในการสร้างฟันลูก ซึ่งเริ่มสร้างตั้งตาลูกอายุ 4-6 สัปดาห์ในครรภ์ ลูกได้แคลเซียมจากกระแสเลือดแม่ แม่จึงควรทานแคลเซียมให้เพียงพอ

4.ควรหลีกเลี่ยงอาหารหวาน หรืออาหารเหนียวติดฟันเพื่อป้องกันฟันผุ

5. ควรตรวจฟันทุก 6 เดือนตามปกติ หญิงตั้งครรภ์สามารถทำฟันได้โดยปลอดภัย อย่างไรก็ตามควรเลี่ยงการทำฟันในไตรมาสแรก และไตรมาสที่ 3 และควรแจ้งทันแพทย์และเจ้าหน้าที่ทุกครั้งว่าตั้งครรภ์ ควรเลี่ยงการถ่ายภาพรังสี แต่หากมีความจำเป็นก็สามารถทำได้โดยต้องสวมเสื้อป้องกันรังสีก่อนทุกครั้ง โดยทั่วไปในหญิงตั้งครรภ์ ทันตแพทย์มักจะรักษาเท่าที่จำเป็น หากมีอาการปวด บวม อักเสบที่เหงือกหรือฟัน ควรจะรับการรักษาทันที เพราะสุขภาพช่องปากของมารดา มีผลต่อสุขภาพของลูกได้

แบคทีเรียใน ช่องปากแม่ สามารถส่งต่อสู่ลูกได้ การมีสุขภาพช่องปากที่ดี ไม่มีฟันผุ หรือเหงือกอักเสบ จะช่วยลดปริมาณเชื้อแบคทีเรียในการส่งต่อสู่ลูก
 
ด้วยความปราถนาดีจากโรงพยาบาลสมิติเวช : http://www.samitivejhospitals.com/healtharticle_detail/การดูแลสุขภาพช่องปากในหญิงตั้งครรภ์_180/th
ความคิดเห็น :
1
อ้างอิง

Sue
 
Sue [68.202.141.xxx] เมื่อ 13/11/2019 09:23
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :